ไก่ปลอดยา เป็นกระแสที่มีการพูดถึงมากขึ้น หลายบริษัทได้เริ่มมีการทดลองเลี้ยงไก่ปลอดยากันแล้ว เพราะถือเป็นตลาดใหม่ที่แนวโน้มผู้บริโภคมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแต่เดิมการเลี้ยงไก่มีการใช้ยาผสมในอาหารเพื่อใช้เป็นตัวเสริมการเติบโต (growth promotor) แต่หากเปลี่ยนมาเลี้ยงไก่ปลอดยาแล้ว ยาเหล่านั้นก็ต้องถูกถอดออกจากสูตรอาหาร ทำให้โรคบางโรคที่เราเคยคุมได้กลับมาเป็นปัญหาอีกรอบ เช่น โรคบิด และโรค ลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย
การที่จะเลี้ยงไก่ปลอดยานั้นไม่ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไป เพียงแต่ต้องรู้ข้อจำกัดในการเลี้ยง เพื่อที่จะนำไปวางแผนการเลี้ยงต่อไป แล้วอะไรคือสิ่งที่ต้องรู้ก่อนที่จะเลี้ยงไก่ปลอดยาบ้าง?
1. อาหารต้องเป๊ะ!
คุณภาพอาหารที่ไม่นิ่ง ส่งผลเสียหายมหาศาลต่อตัวเลขผลผลิต ยิ่งหากเกิดขึ้นในช่วงที่มีปัญหาโรคบิด และคลอสตริเดียมร่วมด้วยแล้ว จะทำให้ความเสียหายเพิ่มมากขึ้นไปอีก
2. คุณภาพลูกไก่ต้องดี
คุณภาพลูกไก่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการจัดการในโรงฟัก การขนส่ง ไปจนถึงการจัดการกก เพื่อให้ได้ลูกไก่ที่สมบูรณ์ก่อนเข้าสู่ช่วงไก่โต หากคุณภาพลูกไก่ไม่ดีแล้ว โอกาสที่จะเกิดปัญหาระหว่างการเลี้ยงจะสูงมาก เช่น ปัญหาป่วย ปัญหาเรื่องขา เป็นต้น
3. วัคซีนต้องแน่น
กรณีที่มีความเสี่ยงโรคระบาด อาจพิจารณาทำวัคซีนร่วมกันมากกว่า 1 ตัว เพื่อที่จะให้ไก่มีภูมิคุ้มกันเพื่อต้านทานต่อโรคที่เกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด
4. ไก่ป่วย ก็ต้องใช้ยา
กรณีที่ไม่ใช่ระยะหยุดยา เมื่อไก่ป่วย จำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมกับโรคที่เกิดขึ้น เพื่อลดความเสียหายต่อธุรกิจของผู้เลี้ยง และให้เป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ที่ไก่จะต้องได้รับการรักษาให้หาย เมื่อมีการป่วยเกิดขึ้นด้วย
5. ระวังปัญหาสุขภาพท้อง
ในการเลี้ยงไก่แบบปกติ มีการผสมยาเพื่อที่จะป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคบิด และโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย แต่พอเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงไก่แบบปลอดยา ก็ได้มีการถอดยาเหล่านี้ออกไป ทำให้โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่เคยถูกกดไว้ แสดงผลออกมาให้ไก่ป่วยได้
ขอแนะนำ แซงโกรวิท ดับบลิวเอส ตัวช่วยสำคัญ สำหรับเลี้ยงไก่แบบปลอดยา
ปรับสภาพลำไส้ ลดการอักเสบ และแบคทีเรียก่อโรคในทางเดินอาหาร ปลอดภัย ไม่มีระยะหยุดยา
ผลิตภัณฑ์จาก บริษัท Phytobiotics ประเทศเยอรมนี
บล็อกเกอร์/ผู้แทนยาสัตว์/สัตวแพทย์ควบคุมฟาร์ม